รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงาน การพัฒนางานตามข้อตกลง ว PA
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
ระหว่างวันที่๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนพ.ศ. ๒๕๖๗
นางหทัยรัตน์ ไชยมาตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบาลวัดเหมืองแดง
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ประวัติส่วนตัว
ประวัติการทำงาน
ข้อมูลส่วนตัว
เริ่มรับราชการ: ๑ กันยายน ๒๕๔๘
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล(ดำรงประชาสรรค์)เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี
๑ กันยายน ๒๕๔๘ – ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
ชื่อ: นางหทัยรัตน์ ไชยมา
ประวัติการศึกษา
การศึกษา : ปริญญาตรีครุศาสตร์บัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเชียงใหม่
ปริญญาโทศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล
วัดเหมืองแดง เทศบาลเมืองแพร่
๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ – ปัจจุบัน
๑. ภาระงาน / ปฏิบัติหน้าที่การสอนปีการศึกษา ๒๕๖๖
๑.๒
๑๖ ชั่วโมง/สัปดาห์
งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
๑. การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์
๒.การจัดทำข้อมูลติดตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
๓. การจัดหา/สืบค้น หรือจัดทำสื่อการเรียนรู้ จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๔.การจัดหา/จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
๕.การตรวจผลงานนักเรียน จำนวน ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์
๖.การเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑. ภาระงาน / ปฏิบัติหน้าที่การสอนปีการศึกษา ๒๕๖๖
๑.๓
13 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๑.งานธุรการชั้นเรียน จำนวน ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์
๒.งานวิจัยในชั้นเรียน จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
๓.การเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๔.ปฏิบัติหน้าที่เวรสวัสดิการประจำวัน จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๑ สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
มีการจัดทำหลักสูตรรายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๑๖ หน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น และสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรริเริ่ม พัฒนารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๒ การออกแบบการเรียนรู้
- ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยพื้นฐานโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน ๑๖๐ แผน ๑๖๐ ชั่วโมง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตามเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
- จัดทำแผนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ ทฤษฎีหลักสูตรความต้องการของสังคมแบบเน้นเหตุผลและเทคนิค (social needs-rational/technical) เพื่อให้ ผู้เรียนเน้นปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของสังคม
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๓ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักถึงการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเคารพความแตกต่างและรู้จักการทำงานเป็นทีม โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับทางด้านของจิตวิทยา ที่ใช้สำหรับการสอน เช่น จิตวิทยาพัฒนาการตนเอง จิตวิทยาแนะแนวการให้คำปรึกษา เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนและให้มีความเชื่อมโยงตามที่สถานศึกษากำหนด
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๔ สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
- จัดทำสื่อการสอนที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการแก้ปัญหาในส่วนที่ผู้เรียนยังบกพร่องความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาบางส่วน เพื่อเพิ่มผลให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
-จัดทำสื่อการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านออกเสียงได้ดีมากยิ่งขึ้น
-จัดทำสื่อการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเป็นไปตามความ คาดหวังตามที่ได้ตกลงกับผู้เรียนไว้
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๕ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- สร้างแบบวัดและประเมินผลตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริงและวัดการคิดวิเคราะห์
- วัดความรู้ (K) ด้วยแบบทดสอบแบบฝึกหัด ใบงาน
- วัดสมรรถนะ/ทักษะ (P) ด้วยแบบทดสอบ แบบฝึกหัด ใบงาน
- วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ด้วยบันทึกการเข้าเรียน และบันทึกการส่งงาน
ของนักเรียน
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๖ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
- มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยตรง
- วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- จัดกลุ่มนักเรียน
- วางแผนพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล
- หาเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียนแต่ล่ะคนและนำมาปรับใช้ภายในห้องเรียนตามความเหมาะสม
๑. ด้านการจัดการเรียนรู้
๑.๘ อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
- มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้
- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์กิจกรรมโฮมรูม
๒. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
๒.๑ จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
-จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
-จัดทำรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทยเพื่อใช้เป็นเอกสารประจำชั้นเรียนอย่างเป็นระบบและถูกต้องเป็นปัจจุบันเพื่อประสิทธิภาพของผู้สอนและผู้เรียน
-ใช้สารสนเทศในด้านของการเสริมสร้างพัฒนานักเรียนให้ลงมือปฎิบัติจริงและรู้จัก การค้นหาข้อมูลและรู้ด้วยตนเองโดยสอนผ่านระบบ online internet และ zoom หรือใช้โปรแกรม ปถ.๐๕
๒. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
๒.๒ ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
-การออกเยี่ยมบ้าน คัดกรองนักเรียน เพื่อให้ครูสามารถคัดกรอง นักเรียนตามความเป็นอยู่ที่แท้จริงและรวมไปถึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนและทางสถานศึกษาได้ให้ความช่วยเหลือตามระบบดูแลนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
- มีการใช้สารสนเทศเข้ามาช่วยในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
- จัดทำช่องทางเผยแพร่ผลการประเมินผู้เรียนต่อบุคคลเพื่อวางแผนการพัฒนาผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง
๒. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
๒.๓ ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
๑. ประสานความร่วมมือกับครูในสายชั้น งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการดูแลกำกับติดตามนักเรียน เพื่อให้การดำเนินงานตามกิจกรรมทำที่บ้านบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน
๒. ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๒. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
-ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๓
- ปฏบัติหน้าหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
-ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้รับผิดชอบโครงการสอบแข่งขันคนเก่งในโรงเรียนท้องถิ่นและ โครงการทดสอบกิจกรรมยุวกาชาดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
-ร่วมจัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
-เข้าร่วมการอบรมต่างๆที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของการสอนให้ดีขึ้น
- ร่วมกิจกรรมการจัดทำแผนการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
๓. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
๓.๑ พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะภาษาไทย เพิ่มมากขึ้นและเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนที่หลากหลายทันสมัยต่อยุคปัจจุบันของผู้เรียน
- เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันต่อยุค เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ความรู้เนื้อหา วิชาการ และมีความรอบรู้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียน
๓. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
๓.๒ มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
- จัดตั้ง เข้าร่วมกลุ่ม และเป็นผู้นำเพื่อร่วมเรียนรู้ผ่านกระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบวิธีการสอน เปิดชั้นเรียน ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้
- เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสถานศึกษา
และนอกสถานศึกษา
- หาความรู้ใหม่ๆผ่านทาง internet เพื่อใช้ในการเรียนการให้ทันต่อยุคสมัย
๓. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
๓.๓ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
นำรูปแบบวิธีการการสอนที่มีการออกแบบโดยผ่านกระบวนการในกลุ่ม (PLC) มาทดลองใช้กับผู้เรียน มีการเปิดชั้นเรียนสะท้อนผล ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดคำนวณของผู้เรียนที่ที่สุด